Thursday, June 26, 2008

domestic animal HYD

สิงห์สาบรรณดาสัตว์เลี้ยงนะจ๊ะ
สัตว์เลี้ยงในเมืองอินเดียนอกจากวัว หรือ โค แล้วก็มีกระบือ ที่อยู่กันอย่างอิสระเสรี เดินไปเดินมาให้พบเห็นได้ทั่ว โคพื้นบ้านที่นี้นั้รู้จักกันดีเป็นต้นตำนานของโคบาร์หมันที่เลื่องสือ ปัจจุบันนี้ก็สามารถพบเห็นโคบาร์มันขนานแท้ได้ทั่วไป ซื่อบางครั้งอาจเห็นถูกใช้เป็นโคเทียมเกวียนบรรณทุกเข้าของเดินอยู่บนถนนคอนกรีตในเมืองก็บ่อย ส่วนอีกชนิดคือแพะ แกะ พื้นเมืองมีขนาดไม่แตกต่างในภาคใต้ของไทยมากมายนัก ในไฮเดอราบัส แพะเป็นเนื้อสัตว์ชนิดที่แพงที่สุด กิโลกรัมละ 240รูปี ในตอนนี้ ส่วนเนื้อไก่ก็ราคาแพงรองลงมา ที่ถูกสุดในบรรดาสัตว์บกก็เป็นเนื้อวัว ตอนนี้ราคาเพิ่งขึ้นมากิโลกรัมละ 100 รูปี

เนื้อแพะนั้นยังไม่รู้ที่มาว่ามีการทำฟาร์มกันที่ไหนบ้าง แต่เห็นการเลี้ยงแพะแกะแบบครัวเรื่องที่นี้แล้วก็สนุกดี จัดอยู่ในกระเภทไม่ต้องใช้ต้นทุน วันหนึ่งเดินไปในชุมชนที่ชื่อว่า Setafamati ซีตาฟามาตี ในเมือง secunderabad ที่อยู่นั้นพวกแพะกำลังสนุกอยู่กับการกินบุฟเฟ่ ซึ่งมีอาหารหลากหลายมากมายหลังจากตลาดเพิ่งวาย แพะเหล่านี้เลือกกินได้ตามใจชอบ เห็นตอนน่ามะม่วงนั้น มะม่วงเขามีมากนักและที่ขายไม่หมดเริ่มจะเน่าแล้วแพะเหล่านี้จะได้กัดกินกันหายเปรี้ยวปากไปเลยทีเดียว

การเลี้ยงไก่ยังไม่มีโอกาสเห็น แต่ร้านขายไก่ที่นี้นั้นจะจับไก่มาขังกรงตับโชว์ไว้หน้าร้านให้ลูกค้าผ่านไปผ่านมาเห็นได้เรียกว่าเป็นสัญลักษณ์ของร้านเลยว่าที่นี้มีไก่ขายแน่ ๆ ส่วนใหญ่เป็นไก่ลูกผสมทางการค้าไม่แตกต่างจากไทย บางร้านจะมีไก่พื้นบ้านรวมอยู่ด้วย ซึ่งเคยเห็นในชุมชนมุสลิมเป็นร้านขนาดใหญ่ชนิด 2 คูหา เมื่อเทียบกับร้านขายเนื้อโดยทั่วไปที่ใช้เนื้อที่ไม่มาแค่ครึ่งคูหา ในการเปิดกิจการ
ควายอินเดียนั้นจัดว่าพิเศษมากสำหรับฉันเอง เพราะหน้าตาต่างจากควายไทยที่คุ้นตา เราจึงคิดว่ามันดูเท่ มาก มาก เนื่องจากเป็นความนมจึงจะเห็นนมควาย มีขายในร้านสะดวกซื้อที่นี้ได้ด้วย

อีกอย่างที่เป็นสัตว์พาหะพบเห็นได้ไม่อยากอีกชนิดคืออูฐ การขี่อูฐจัดเป็นเรื่องมีหน้ามีตาบนถนนคอนกรีตอยู่เหมือนกัน เพราะมีมุมมองที่สูงกว่าใคร
ช่วงนี้ใกล้กลับแล้ว ต้องแค่นี้ก่อนนะ บาย












Wednesday, June 25, 2008

shopping

เครื่องประดับประดา

Monday, June 23, 2008

Bus travel

การเดินทางด้วยรถบัส
การเดินทางด้วยรสบัสในอินเดียราคาถูก และถ้าเป็นขาลุยแล้วไม่ควรพลาดอย่างเด็ดขาดเลย สนุก สนาน เร้าใจ และอาจได้เพื่อนเพิ่มด้วยเพราะชายชาวอินเดียชอบผูกมิตรนะจ๊ะ

ลำดับแรกสุดของการขึ้นรถเมล์ก็หนีไม่พ้นการต้องทำการบ้านว่าสายไหนไปไหนบ้าง ท่ารถเมล์ทุกท่าจะมีป้ายเขียนเลขรถไว้หมดเลยว่าสายไหนจอดบ้าง แหนงคอขึ้นดูได้เลย ส่วนสายไหนไปไหนนั้นต้องใช้ความสามารถแต่ละคน ถาม หรือซื้อแผนที่ที่มีสายรถเมล์บอกแถมมาด้วยก็พอช่วยได้

ลำดับต่อมาสำหรับฉันก็สังเกตการณ์ แต่บางคนอาจข้ามไปลองเลย แรกสุดก็เห็นว่าคนโหนกันแน่นนะ ยิ่งประตูหลังนี้โอ้ยเป็นลิงเลย ขึ้นไปถึงรู้ว่าบนรถเมล์เขาแบ่งเป็นเขตชายเขตหญิง ผู้หญิงขึ้นประตูทางหน้า ผู้ชายใช้ประตูหลังจ้า ฉันเคยขึ้นประตูหลังมาแล้ว กระเป๋าบอกให้เดินไปยืนในเขตผู้หญิงซะดีดี แหงนไปมองบนเพดาน ใช่เลยจ้านายจ๋า

ราคาค่ารถเมล์ถูกสุดที่เคยนั่ง 3 Rs แพงสุดที่เคยนั่งต้นสายไปปลายสาย 8 Rs ค่ารถร้อนที่นี้เป็นไปตามระยะทาง จัดว่าคุ้มเกินคุ้มสำหรับพวกชอบแนวนี้ นั่งรถเมล์ตอนแรกที่เขาไม่มีตังส์ทอนกระเป๋าจะเขียนตัวเลขราคาที่ติดตังส์เราไว้หลังตั๋วรถเมล์ และเซ้นต์กำกับชื่อไว้เรียบร้อย เราก็คอยเอาอันนั้นแหละทวงเขาว่ายังไม่ได้ตังส์ทอนครบนะจ๊ะ รถเมล์ที่นี่ไม่ค่อยติดเท่าไร มีแต่แน่นมากกับแน่นน้อยเท่านั้น

มิตรภาพบนรถเมล์ อย่างที่บอกแล้วว่าคนอินเดียชอบคุย โดยเฉพาะชายชาวอินเดีย ชอบคุย ส่วนผู้หญิงนั้นจัดอยู่ในประเภทขี้คุย(ในภาษาใต้แปลว่าไม่ค่อยชอบพูดกับเรา) จ้า วันหนึ่งฉันไปสวนสัตว์ด้วยรถเมล์เที่ยวหนึ่งขาไปนั้น นั่งซักครึ่งทางได้รู้จักกับแซม ชายหนุ่มชาวอินเดียทำงานกับบริษัทฮอลแลนด์สาขาที่อินเดีย ที่แรกก็กลัว ๆ หนุ่มนี้ แถมคุยไปสักพักหญิงสาวข้างหลังเบาะฉันบอกมาว่าเป็นเพื่อนภรรยาของแซม เอาหละซี่ แต่ไม่มีอะไรทำตื่นเต้นไปอย่างนั้นแหละ แซมมากับครอบครัวเขาพาหลาย ๆ คนในครอบครัวไปเที่ยวสวนสัตว์ ซักสิบคนได้มั้ง พ่อแม่ แซม น้องสาว เพื่อนภรรยา ภรรยา และเด็ก ๆ อีก 4 คน วันนั้นฉันได้กินเข้ามื้อเที่ยงกับครอบครัวของแซม เป็นอาหารเจ ในสวนสัตว์แหละ เพราะชาวอินเดียนิยมคดข้าวไปกินกันในสวนสัตว์เหมือนกับปิกนิกกัน
รถเมล์ชนิดเที่ยวสุดท้ายในวันหยุด วันนั้นอีกเหมือนกันที่ฉันกลับจากสวนสัตว์ รถเมล์เที่ยวกับเป็นคันสุดท้าย คนแน่นมาก ๆ เบียดเสียดกันขึ้นชนิดที่เหาอาจติดกันได้ และใช้แรงกระแทกส่วนตัวให้เป็นประโยชน์กันมากที่สุด ฉันแอบภูมิใจเล็ก ๆ ที่ฉันได้ขึ้นทันจนได้ และเลือกยืนอยู่ในทำเลที่ดี ใกล้ชิดคนขับไว้ก่อน มีคนยืนข้าง ๆฉันเห็นฉันทำเนียนมั้งถามฉันว่าฉันเป็นอินดูหรือเปล่า ฉันบอกว่าเป็นพุทธ ด้วยความตื่นเต้น ตลอดเที่ยวคันนี้คนขับรถเป็นคนซื่อตรงมาก ตั้งแต่ตอนแรกที่เห็นแกพยายามควบคุมให้คนลงให้หมดก่อนและค่อยปล่อยให้คนขึ้น เพราะหากมีโอกาสเห็นมือที่ตะกายจะขึ้นรถเที่ยวนั้นต้องนึกถึงบางอย่างขึ้นมาไม่ได้ หลังจากขับมาระหว่างทางมีคนหลายคนพยายามจะขึ้นนอกป้าย ลูกพี่ไม่ยอมจอดเลย และอีกพวกเป็นชายชายที่ทนความแน่นประตูหลังไม่ไหวทำมั่วนิ่มขึ้นประตูหน้า ลูกพี่ไล่ลงหมด เดินจ๋อยกัยไปทางหลัง หรือรอคันอื่นต่อไป






Sunday, June 22, 2008

Winter melon

ที่มา : วันก่อนพ่อถามกับน้องสาวมาว่าการเรียนภาษาอังกฤษนั้นก้าวหน้าหรือยัง เก่งขึ้นหรือยัง น้องสาวตอบพ่อไปว่าส่งสัยเก่งแล้ว เพราะเห็นเขียนเป็นภาษาอังกฤษอยู่บ้างในบล็อก นึกถึงพ่ออยู่หลายวันแล้ว อยากเขียนเรียงความสักเรื่องก่อนกลับ เลือกเขียนเรื่องบวบ เพราะว่าที่นี้เพิ่งจะซื้อบวบมากิน บางที่ต้ม บางทีก็ต้มร่วมมันฝรั่งที่หั้นชิ้นต้มไปก่อน ใส่บวบหั่นชิ้นบาง ๆ ตาม เทน้ำทิ้งอย่าให้เหลือน้ำมาก นำไข่มาใบหนึ่งตีให้ฟู ผสมแป้งโกกินิดหน่อย (เพิ่มปริมาณ ฮ่าฮ่า) หลังจากนั้นก็ใส่ลงไปในมันฝรั่งสุกและบวบที่สุกได้ที่ คนเล็กน้อย ปรุ่งรสด้วยพริกไทย อร่อยมาก อันนี้ถึงว่าเป็นอาหารสุขภาพด้วยเพราะไม่ใช้น้ำมันเลย นอกจากบวบแล้วยังมีเมนู 2 -3 อย่างที่จะกลับไปทำให้พ่อกินด้วย หนึ่งเอง

Winter melon
I was forced to eat a winter melon by my father since I was a little child. I had been remembering a feeling which I want to escape from the winter melon menu. Always, my father cooked the winter melon then he paid money to hire me to eat it. There are 2-3 pieces for 1 Baht. I accepted his propose because I had a plain to get money to buy a lot of candy, sweets and snacks. My father known what is what which I want to do but he made agreement.

At recent, I can recognize to the reasons why I did not like winter melon. First of all, the winter melon is kind of vegetables so most of children do not like to eat it. The next reason is, it is insipid or test less. Whatever the difference of cooking method could not added in both favors and a taste of dish. After the winter melon was boiled, it will be succulence on account of it absorbs extra water and oil from other ingredients. When I ate it, I felt uneasy or uncomfortable to chew and to swallow. However, I did not tell my negative attitude to my father.

Finally, my attitude to winter melon could be changed when I grow up. On one head depends on the nutritive and valuable of winter melon, one the anther hand is, it was introduce by my father.

Tuesday, June 17, 2008

Pan shop

ร้านเอเนกประสงค์
ต้องขออภัยก่อนเพราะเป็นการคิดเดาชื่อของร้าน pan shop เอาเองว่า ร้านอเนกประสงค์ ยังไม่ได้ถามหรื่อหาข้อมูลอย่างชัดเจน ภายในร้านประเภทนี้จะมีสิ่งที่น่าสนใจสำหรับฉันคือหมากและพลูของที่นี่ กลิ่นหอมมาก มีโอกาสไปยืนเป็นไทยมุงเพื่อดูเขาทำหมากและพลู ตามแบบฉบับพบว่าใส่โน่นป้ายนี้ และมีอยู่อย่างที่เห็นคล้ายกระดาษฟรอย อันนี้เป็นแผ่นบาง ๆ มาก แป๊ะลงบนแผ่นพลู ก่อนโรยเครื่องเทศและส่วนผสมอื่นลงไป สงสัยมากเลยไปถาม Mr Sam ครูของฉันเอง Sam บอกว่ากินได้ เพราะเป็นแผ่นบาง ๆ สำหรับคนที่ขาดธาตุเหล็ก ประมาณนั้น ราคาจะตกคำละ 12 Rs ซึ่งแพงมาก เหมือนกัน
(เจ้าของภาพทุกภาพที่เป็นชาวอินเดียซึ่งกรุณาเป็นนายแบบให้ต้องขออภัยด้วยหากท่านไม่ต้องการเผยแพร่ หน้าตา คราวหลังข้าน้อยจะทำโมเลสปิดไว้ก่อน)
ขอบขอบคุณเพื่อน ๆ ทุกคนที่ติดตามอ่านเรื่องราวที่เขียนด้วยใจบริสุทธิเพื่อบันทึกประสบการ์บางส่วนของตัวข่อยที่อยากให้เพื่อนได้เห็นร่วมกัน แม้ต่างมุมมองกันก็ตาม การอ่าน และการคิดด้วยเจตนาอันบริสุทธิ คงทำให้เมืองไทยวัฒนาได้สักวันหนึ่ง ท่านได้คิดว่าล่วงเกินสิ่งใดแจ้มาได้เด้อ จะได้ลบบทความนั้นออกไปทันทีนะจ๊ะนาย

Friday, June 13, 2008

Gift of HYD

รูปของฝากที่หาซื้อได้นะคะ ในเมืองไฮเดอราบัส ขอเชิญชมได้

Wednesday, June 11, 2008

FOOD in HYD

อาหารหวานคาว
เลือกกินกันเองนะ

incredible indiaII

สลับฉากจากเรื่อง fort นิดหน่อยช่วงนี้งานเยอะเลยยังหมักรูปไว้ในกล้อง
มี trip อีกที่ด้วยคือสวนสัตว์ที่โฆษณาว่าใหญ่แห่งหนึ่งในอินเดีย ซึ่งเพิ่งไปมาแบบลุยเดี๋ยวและมันส์มาก เพราะรู้จักเพื่อนใหม่บนรถเมล์ พร้อมครอบครัวที่แสนใจดีของเขาด้วย ขอเวลาเปิดตัว Mr Sam และครอบครัวช้าไปอีกนิดลงรูปของสิ่งเฉพาะในอินเดียเพิ่มสักหน่อย
1. ภาพที่เห็นคล้ายกับเมืองไทยคือที่ขูดมะพร้าวหรือตัวกระต่ายนั่นเอง เห็นแล้วนึกยิ้มเขาออกแบบง่ายดีพกพาง่ายด้วย ใส่แล้วเดินคีบสองข้างเป็นรองเท้าคีบได้เลย ขนาดได้กัน
2.อันต่อมาเป็นที่ปีบน้ำมะนาว คนอินเดียนิยมดื่มน้ำมะนาวผสมโซดา ใส่เกลือนิดหน่อย มีขายเป็นรถเข็นอยู่ทั่วเมือง และมะม่วงเปรี้ยวจิ้มเกลือ ฝานเป็นชิ้น ๆ ขาย น่าแปลกที่ส่วนมากป็นผู้ชายเข็นขาย และเป็นผู้ชายอีกที่ชอบกินของเปรี้ยวแบบนี้
3. เครื่องรางประจำบ้านต่าง ๆ นิยมแขวนไว้หน้าบ้านนัยว่าป้องกันภูมิผี ปิศาจร้ายทำนองนั้น4. สุดท้ายเป็นร้านซักรีด ฉบับเรียบถึงใจ ผู้ชายอินเดียร้อยละ 80 จะใส่เสื้อเชิ้ตรีดเรียบที่เห็นเปนเสื้อยืดจะน้อยมาก ทั้ง ๆ ที่ค่าไฟแพงแสนแพง แต่ใส่เสื้อรีดเรียบกันทั้งประเทศเพราะเทคโนโลยีพื้นฐานของเขานี้เองจ้า



Monday, June 9, 2008

Golconda Fort III

ภาพจากกล้อง Thorn ล้วน ๆ รอบนี้ดูอย่างเดียวไม่มีตัวหนังสือรำคาญสายตาเลยจ้า















Golconda Fort II

Golconda-Koh-E-Noor and Kings
ป้อมปราการแห่งนี้เป็นทั้งป้อมปราการ ปราสาทราชวัง และแหล่งที่พบเพชรอันขึ้นชื่อซึ่งเรียกว่า Koh-E-Noor dimond ซึ่งต่อมาถูกนำไปบรรณาการแด่ Queen victoria เพื่อประดับยอดมงกุฏในอังกฤษ ตำนานกล่าวว่า พบเพชรเม็ดนี้ทางตอนใต้ของประเทศอินเดีย บริเวณริมแม่น้ำโกทาวรี ราว ค.ศ. 1304 ชาวนาคนหนึ่งพบวัตถุเป็นมันวาวในดินโคลนหลังจากคืนฝนตกเพชรเม็ดนี้ซึ่งสวยงามมากเป็นพิเศษก็ได้กลายเป็นที่รู้จักในอินเดียและถูกนำไปประดับบนมงกุฎของมหาราชาแห่งกอลคอนดา ภายหลังเพชรเม็ดนี้ตกเป็นlสมบัติของตระกูลโมกุลผู้ยิ่งใหญ่ และมีค่าโดยประมาณเท่ากับรายได้ใน 1 วัน ของประชากรทั้งหมดบนโลกเพชรโก อิ นัวร์ ตกทอดจากทรราชคนหนึ่งไปสู่อีกคนหนึ่ง ครั้งหนึ่งเคยเป็นของโมฮัมเหม็ด ชาร์ (Mohammed Shah) และตกทอดสู่นาดีร์ ชาห์ (Nadir Shah) ซึ่งได้อุทานออกมาว่า "โก อิ นัวร์" ซึ่งหมายความว่า "ภูเขาแห่งแสงสว่าง"ระหว่างที่เขาได้เห็นเพชรอันวิจิตรงดงามนี้ ที่เขาได้แย่งชิงมาจากโมฮัมเหม็ด ชาห์ ใน ค.ศ. 1739 ท้ายสุดแล้วเพชรก็ไปตกอยู่ที่รานจีท สิงห์ (Ranjeet Singh) แห่งปัญจาบใน ค.ศ. 1833ใน ค.ศ. 1850 บริษัทอินเดียตะวันออกได้ทูลเกล้าฯ ถวายเพชรโก อิ นัวร์ ที่ลือชื่อแด่สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย เพชรเม็ดนี้เป็นของขวัญวิเศษชิ้นหนึ่ง ขณะนี้เพชรสามารถประเมินค่าได้เป็นราคา 700,000 ดอลลาร์สหรัฐ สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียทรงตัดสินพระทัยที่จะให้นักเจียระไนเพชรชื่อวัวร์ซานเจอร์ (Voorzanger) เจียระไนเพชรนี้ใหม่ เขาใช้เวลา 8 วันในการเจียระไนให้เป็นรูปทรงรีหรือรูปไข่ หนัก 108.93 กะรัต และมีความแวววาวเป็นพิเศษ สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียได้ทรงประดับเพชรนี้ไว้บนเข็มกลัดและทรงระบุไว้ในพระพินัยกรรมให้เพชรโก อิ นัวร์ แก่ผู้ที่เป็นกษัตริย์และผู้หญิงเท่านั้นปัจจุบันเราสามารถชมเพชรชื่อดังเม็ดนี้ ได้ที่ทาวเวอร์ออฟลอนดอน โดยเพชรเม็ดนี้ประดับอยู่บนมัลทีส ครอส (Maltese Cross) ด้านหน้าของมงกุฎซึ่งสร้างขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1937 สำหรับพระราชมารดาสมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบท
ราชวงค์ที่ครอบครอง Golconda fort มี กษัตรย์ 7 องค์ ซึ่งเป็นชาวเปอร์เชียร์ รูปร่างหน้าตาจึงละม้ายคล้ายคลึงกับชาวอาหรับทั้งสิ้น ไล่เรียง 7 องค์ได้ดังนี้
1. Sultan Quli Qutub Shah
2. Jamshid Quli Qutub Shah
3. Ibrahim Quli Qutub Shah
4. Mohd Quli Qutub Shah
5. Sultan Mohd Qutub Shah
6. Sultan Abdulla Qutub Shah
7. Abbul Hasan Tana Shah
โดยองค์ที่ 4 เป็นผู้สร้างหอคอย Charminar ขึ้น
ภายหลังป้อมปราการแห่งนี้ถูกโจมตีและรุกรานจากกษัตรย์ออรังเซป ผู้เป็นลูกชายของจาร์ จาฮาล แห่งราชวงค์โมกุล มาทำการตีเมือง 2 ครั้ง และครั้งที่ 2 การสู้รบดำเนินถึง 8-9 เดือน ไม่สามารถตีเข้าตัวป้อมได้ แต่มีผู้บัญชาการทหารคนหนึ่งทำการเปิดประตูเมืองในตอนกลางคืนให้ข้าศึกเข้ามาตีเมืองได้ (ทริกนี้ฟังดูคุ้น ๆ อยู่ ต้องยอมรับว่าเป็นสากลจริง ๆ ) หลังจากนี้กษัตย์องค์สุดท้ายก็ถูกจับไปขังคุก จนตายในที่สุด

ภาพของ Mohd Quli



Saturday, June 7, 2008

Golconda Fort

Golconda Fort
ป้อมที่เมือง Hyderabad ซึ่งเรียกว่า Golconda Fort เป็นป้อมที่มีชื่อเสียงเรื่องความแข็งแรงมาก และมีประวัติยาวนาน เป็นหนึ่งในป้อมที่สร้างได้อย่างมหึมาและซับซ้อนที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศ ไปรอบนี้กล้องไม่ได้ซาร์ทแบทอย่างเต็มที่ เลยถ่ายได้น้อยมาก และยังไม่ได้โหลดภาพ ขอภัยท่านผู้ติดตามไว้ก่อน เพื่อความบัณเทิงเลย ใส่ภาพใน web คนอื่น ๆ ที่ถ่ายสวย ๆ มาดูเล่นพลาง ๆ ประวัติของ fort เป็นเรื่องน่าสนใจและติดตามเป็นอย่างยิ่ง สำหรับท่าน ๆ ที่ชอบหนังจักร ๆ วงค์ ๆ อย่างชาวเรา การันตีได้เรื่องนี้มันมาก ภาพจาก This picture is original at www.magiccarpetjournals.com/golconda_fort.htm การเดินทางไปจากเมืองไฮเดอรราบัส สะดวกสบายพอสมควรเพราะมีรถโดยสารไปจอดถึงที่ สามารถขึ้นจากต้นทางได้ที่ Nampally, Koti และ Mehdipatnam ได้เลย รอบนี้ขึ้นจากต้นทางที่ Mehdipatnam เป็นรถโดยสายขนาดใหญ่ (บางสายจะขนาดเล็ก โดยเฉพาะในเมือง) ราคาค่ารถโดยสาร คนละแค่ 5 Rs. เท่านั้น รถโดยสารสายนี้ขับผ่านเขตทหารชมบรรยากาศค่ายทหารของเมืองได้เต็มอิม จุใจ ระยะเวลาเดินทางไม่นาน ประมาณ 25-30 นาที เพลินตาไปด้วยบรรยากาศรั้วสีแดง ของค่ายทหาร ละจากรถบัสที่จอดแทบจะหน้าประตูเลย ก็เดินเข้าไปซื้อตั๋วเข้าชมได้เลย คนอินเดียก็จ่าย 5 Rs คนต่างชาติก็จะมี ทางเลือก 2 ทางให้เลือก ต้องการจ่าย 2 US D หรือจ่าย 100 Rs เลือกได้นะนายจ๋า ไปคราวนี้โชดดีมากเริ่มเข้าหน้าฝนอากาศไม่ร้อนเกินไป และไปตอนเช้าซื้อตั๋วเสร็จ มีเจ้าหน้าที่เก็บหางบัตรตรงนั้นเลยมาสัก 1 เมตรได้มั้ง และเราก็พบกับความละลานตา และมุมถ่ายรูปที่สวยทุกมุม ใครที่มีนางแบบไปด้วย ตากล้องคงต้องทำงานหนักแน่ ๆ ตอนเช้าวันที่ไปซุ้มประตูเปิดและเดินผ่านซุ้มเข้าไปได้เลย แต่สาย ๆ หน่อยจะมีเจ้าหน้าที่มานั่งฉีกตั๋วที่ปราศจากหางบัตรที่เรามีอยู่อีกครั้งหนึ่ง นับว่าโชดดีของฉันที่เหลือตัวค่อนข้างสมบูรณ์ไว้ดูเป็นที่ระลึก ฉะนั้นในอินเดียอย่าเชื้อสุภาษิตว่า ช้า ๆ ได้พร้าเล่มงาม