ป้อมปราการแห่งนี้เป็นทั้งป้อมปราการ ปราสาทราชวัง และแหล่งที่พบเพชรอันขึ้นชื่อซึ่งเรียกว่า Koh-E-Noor dimond ซึ่งต่อมาถูกนำไปบรรณาการแด่ Queen victoria เพื่อประดับยอดมงกุฏในอังกฤษ ตำนานกล่าวว่า พบเพชรเม็ดนี้ทางตอนใต้ของประเทศอินเดีย บริเวณริมแม่น้ำโกทาวรี ราว ค.ศ. 1304 ชาวนาคนหนึ่งพบวัตถุเป็นมันวาวในดินโคลนหลังจากคืนฝนตกเพชรเม็ดนี้ซึ่งสวยงามมากเป็นพิเศษก็ได้กลายเป็นที่รู้จักในอินเดียและถูกนำไปประดับบนมงกุฎของมหาราชาแห่งกอลคอนดา ภายหลังเพชรเม็ดนี้ตกเป็นlสมบัติของตระกูลโมกุลผู้ยิ่งใหญ่ และมีค่าโดยประมาณเท่ากับรายได้ใน 1 วัน ของประชากรทั้งหมดบนโลกเพชรโก อิ นัวร์ ตกทอดจากทรราชคนหนึ่งไปสู่อีกคนหนึ่ง ครั้งหนึ่งเคยเป็นของโมฮัมเหม็ด ชาร์ (Mohammed Shah) และตกทอดสู่นาดีร์ ชาห์ (Nadir Shah) ซึ่งได้อุทานออกมาว่า "โก อิ นัวร์" ซึ่งหมายความว่า "ภูเขาแห่งแสงสว่าง"ระหว่างที่เขาได้เห็นเพชรอันวิจิตรงดงามนี้ ที่เขาได้แย่งชิงมาจากโมฮัมเหม็ด ชาห์ ใน ค.ศ. 1739 ท้ายสุดแล้วเพชรก็ไปตกอยู่ที่รานจีท สิงห์ (Ranjeet Singh) แห่งปัญจาบใน ค.ศ. 1833ใน ค.ศ. 1850 บริษัทอินเดียตะวันออกได้ทูลเกล้าฯ ถวายเพชรโก อิ นัวร์ ที่ลือชื่อแด่สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย เพชรเม็ดนี้เป็นของขวัญวิเศษชิ้นหนึ่ง ขณะนี้เพชรสามารถประเมินค่าได้เป็นราคา 700,000 ดอลลาร์สหรัฐ สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียทรงตัดสินพระทัยที่จะให้นักเจียระไนเพชรชื่อวัวร์ซานเจอร์ (Voorzanger) เจียระไนเพชรนี้ใหม่ เขาใช้เวลา 8 วันในการเจียระไนให้เป็นรูปทรงรีหรือรูปไข่ หนัก 108.93 กะรัต และมีความแวววาวเป็นพิเศษ สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียได้ทรงประดับเพชรนี้ไว้บนเข็มกลัดและทรงระบุไว้ในพระพินัยกรรมให้เพชรโก อิ นัวร์ แก่ผู้ที่เป็นกษัตริย์และผู้หญิงเท่านั้นปัจจุบันเราสามารถชมเพชรชื่อดังเม็ดนี้ ได้ที่ทาวเวอร์ออฟลอนดอน โดยเพชรเม็ดนี้ประดับอยู่บนมัลทีส ครอส (Maltese Cross) ด้านหน้าของมงกุฎซึ่งสร้างขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1937 สำหรับพระราชมารดาสมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบท
ราชวงค์ที่ครอบครอง Golconda fort มี กษัตรย์ 7 องค์ ซึ่งเป็นชาวเปอร์เชียร์ รูปร่างหน้าตาจึงละม้ายคล้ายคลึงกับชาวอาหรับทั้งสิ้น ไล่เรียง 7 องค์ได้ดังนี้
1. Sultan Quli Qutub Shah
2. Jamshid Quli Qutub Shah
3. Ibrahim Quli Qutub Shah
4. Mohd Quli Qutub Shah
5. Sultan Mohd Qutub Shah
6. Sultan Abdulla Qutub Shah
7. Abbul Hasan Tana Shah
โดยองค์ที่ 4 เป็นผู้สร้างหอคอย Charminar ขึ้น
ภายหลังป้อมปราการแห่งนี้ถูกโจมตีและรุกรานจากกษัตรย์ออรังเซป ผู้เป็นลูกชายของจาร์ จาฮาล แห่งราชวงค์โมกุล มาทำการตีเมือง 2 ครั้ง และครั้งที่ 2 การสู้รบดำเนินถึง 8-9 เดือน ไม่สามารถตีเข้าตัวป้อมได้ แต่มีผู้บัญชาการทหารคนหนึ่งทำการเปิดประตูเมืองในตอนกลางคืนให้ข้าศึกเข้ามาตีเมืองได้ (ทริกนี้ฟังดูคุ้น ๆ อยู่ ต้องยอมรับว่าเป็นสากลจริง ๆ ) หลังจากนี้กษัตย์องค์สุดท้ายก็ถูกจับไปขังคุก จนตายในที่สุด
ภาพของ Mohd Quli
No comments:
Post a Comment